วัด
วัดแนะนำ
ตั้งอยู่ในตัวเมืองอยุธยา มีสิ่งที่โดดเด่น คือ เศียรพระพุทธรูปกว่าร้อยปีในรากไม้ โดยเศียรพระพุทธรูปเป็นพระพุทธรูปหินทรายเหลือแค่ส่วนเศียร สำหรับองค์พระนั้นหายไป และเป็นเศียรพระพุทธรูปเป็น ศิลปะอยุธยา วางอยู่ในรากโพธิ์ข้างวิหาร คาดว่าเศียรพระพุทธรูปนี้จะหล่นลงมาอยู่ที่โคนต้นไม้ในสมัยเสียกรุงจนรากไม้ขึ้นปกคลุม ทำให้มีความงดงามแปลกตากลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ทำให้วัดแห่งนี้กลายเป็นวัดที่มีชื่อเสียงและ เป็นที่รู้จักทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
สิ่งที่น่าสนใจในวัดมหาธาตุ
พระปรางค์ขนาดใหญ่
“
”
* ในปัจจุบันส่วนยอดของพระปรางค์นี้ได้พังทลายลงมาแล้ว
* ชั้นบนสุดประดิษฐานปรางค์ขนาดเล็ก ซึ่งเจดีย์องค์นี้ จัดว่าเป็นเจดีย์ที่แปลกตา พบเพียงองค์เดียวในอยุธยา
เจดีย์แปดเหลี่ยม
“
”
วิหารที่ฐานชุกชี
“
”
* พบภาชนะดินเผาขนาดเล็ก 5 ใบ บรรจุแผ่นทองเบา ๆ รูปต่าง ๆ
วิหารเล็ก
“
”
* มีรากไม้แผ่รากขึ้นเกาะเต็มผนัง รากไม้ส่วนหนึ่งได้ล้อมเศียรพระพุทธรูป
วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของวัดมหาธาตุ มีฐานะเป็นพระอารามหลวงในสมัยอยุธยาภายในวัดประกอบด้วยองค์ปรางค์ประธาน ซึ่งล้อมรอบด้วย ระเบียงคต มีพระวิหารตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ส่วนพระอุโบสถตั้งอยู่ทางด้านหลังของวัดทางทิศตะวันตกในแนวประธานเดียวกันวัดราชบูรณะโด่งดังมากในเรื่องการขุดพบเครื่องทองมากมายในกรุพระปรางค์ใหญ่และประชาชนยังสามารถลงไปชมภาพจิตรกรรมฝาฝนังสมัยอยุธยาตอนต้น
สิ่งที่น่าสนใจในวัดราชบูรณะ
* ปรางค์ประธาน มีขนาดสูงใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลงบนฐานสี่เหลี่ยมซึ่งมีเจดีย์อยู่ทั้งสี่ทิศ มีบันไดขึ้นสู่องค์ปรางค์ทางทิศตะวันออกถือเป็นปรางค์แบบไทยที่นิยมทำฐานสูง ต่างจากปรางค์แบบขอมที่มักมีฐานเตี้ย
วัดพระศรีสรรเพชญ์ หรือ วัดพระศรีสรรเพชญ เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานครหรือ วัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับที่บริเวณนี้
สิ่งที่น่าสนใจในวัดพระศรีสรรเพชญ์
เจดีย์ทรงลังกา
“
”
* เจดีย์ทรงลังกา จำนวนสามองค์ที่วางตัวเรียงยาวตลอดทิศตะวันออกและทิศตะวันตก สร้างขึ้นเป็นองค์แรกทางฝั่งตะวันออก เมื่อปี พ.ศ. 2035 ต่อมาในปี พ.ศ. 2042 ก็ทรงให้สร้างเจดีย์องค์ต่อมา (องค์กลาง) และในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 ก็ทรงสร้างเจดีย์อีกองค์ในฝั่งทิศตะวันตก รวมเป็นสามองค์ตามปัจจุบัน
ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปคุ้มขุนแผน วิหารพระมงคลบพิตรจะอยู่ถัดไปไม่ไกลนัก พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตร และสูง 12.45 เมตร นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย
สิ่งที่น่าสนใจในวัดมงคลบพิตร
พระมงคลบพิตร
“
”
* พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปใหญ่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์องค์เดียวในประเทศไทย ลงรักปิดทองมีแกนเป็นอิฐ ส่วนผิวนอกบุด้วยสำริด ทำเป็นท่อน ๆ มาเชื่อมกัน
เป็นวัดเก่าแก่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย และเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากองค์กรยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ. 2534 ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สิ่งที่น่าสนใจในวัดไชยวัฒนาราม
ปรางค์ประธาน
“
”
* ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของพื้นที่ฐานประทักษิณ ซึ่งฐานประทักษิณได้ยกสูงขึ้นมาจากพื้น มีลักษณะเป็นปรางค์จัตุรมุข ในส่วนของมุขด้านตะวันออกจะเจาะมุขทะลุเข้าสู่เรือนธาตุ
ปรางค์บริวาร
“
”
* ปรางค์บริวาร เป็นปรางค์องค์เล็กลงมาที่อยู่รายล้อมปรางค์ประธาน มีทั้งหมด 4 องค์ ลักษณะจะเพรียวกว่า ปรางค์ประธานเมรุ คือ อาคารทรงยอด แหลมที่อยู่รายรอบระเบียงคด ทั้ง 8 ทิศ ภายในคูหาจะประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย เอาไว้ที่เมรุทิศ เมรุละ 1 องค์ เมรุมุม เมรุละ 2องค์ภายในคูหา มีภาพจิตรกรรมฝาผนังหลงเหลือร่องรอยอยู่เล็กน้อย
ระเบียงคด
“
”
* ระเบียงคด เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างเมรุแต่ละเมรุเอาไว้ โดยรอบฐานประทักษิณซึ่งแต่เดิมจะมีหลังคารอบ ๆ ที่บริเวณระเบียงคดนี้จะมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่รวมทั้งหมด 120 องค์ แกนในทำจากไม้พอกปูนทีละชั้นจนได้สัดส่วน ส่วนนิ้วใช้โลหะสำริดดัดขึ้นรูป ปัจจุบันเหลือที่ยังมีพระเศียร อยู่ 2 องค์
ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึง พ.ศ. 1896 จึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นพระราชอนุสรณ์ ณ ตำบลซึ่งพระองค์เสด็จมาตั้งมั่นอยู่แต่เดิม และพระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาก็คงจะได้โปรดให้สร้างถาวรวัตถุ เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง เมื่อเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ. 2310 วัดพุทไธศวรรย์เป็นอีกวัดหนึ่งที่มิได้ถูกข้าศึกทำลายเหมือนวัดอื่น ๆ ทุกวันนี้จึงยังมีโบราณสถานไว้ชมอีกมากมาย
สิ่งที่น่าสนใจในวัดพุทไธศวรรย์
ปรางค์ประธาน
“
”
* ปรางค์ประธาน เป็นศิลปะแบบขอม ตั้งอยู่กึ่งกลางอาณาเขตพุทธาวาสบนฐานไพที ซึ่งมีลักษณะย่อเหลี่ยมมีบันไดขึ้น 2 ทาง คือ ทางทิศตะวันออก และทางทิศตะวันตก
มณฑป
“
”
* ส่วนทิศเหนือทิศใต้มีมณฑปสองหลังภายในพระมณฑปมีพระประธาน พระตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ประจำอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา